ดาวน์โหลดภาพกิจกรรม

 

วันวิสา

ปรัชญา  วิสัยทัศน์  พันธกิจ  โรงเรียนได้มีการกำหนดสิ่งต่อไปนี้ไว้อย่างไร

 

๑. วิสัยทัศน์โรงเรียน

โรงเรียนเทพศิรินทร์ลาดหญ้า กาญจนบุรี เป็นสถานศึกษาที่มีการบริหารจัดการศึกษา มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มี
คุณภาพทางวิชาการ ทักษะอาชีพ การกีฬา ก้าวหน้าเทคโนโลยี เป็นพลเมืองที่ดี มีคุณธรรม จริยธรรม บนพื้นฐานของ
ความเป็นเทพศิรินทร์และความเป็นไทย


๒. อัตลักษณ์

กิจกรรมเด่น เน้นจิตอาสา


๓. เอกลักษณ์

สุภาพบุรุษ สุภาพสตรี ศักดิ์ศรีลูกแม่รำเพย


๔. มาตรการส่งเสริมของโรงเรียน
๔.๑ การสร้างเสริมคุณธรรมจริยธรรม
๔.๒ การยกระดับคุณภาพการศึกษาสู่มาตรฐาน
๔.๓ การส่งเสริมการส่งเสริมให้มีทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ คิดสร้างสรรค์

๔.๔ การพัฒนาศักยภาพครูนักเรียนบุคลากรทางการศึกษา ด้าน ICT

 

๕  ปรัชญา

“น  สิยา โลกวฑฺ  ฒ  โน”  หมายความว่า  “ไม่ควรเป็นคนรกโลก”

 

๖  พันธกิจ

๑.พัฒนาหลักสูตรและระบบการจัดการเรียนรู้ให้มีคุณภาพ

๒.ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษา สู่มาตรฐานสากล

๓.พัฒนา คุณภาพผู้เรียน ให้เป็นคนดี คนเก่ง มีความสุข มีทักษะในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ

พอเพียง หลีกเลี่ยงสิ่งเสพติด ตามมาตรฐานชาติ และมาตรฐานสากล

๔.พัฒนาระบบบริหารและการจัดการที่ดี รองรับสู่มาตรฐานสากล

๕.พัฒนาการใช้สื่อ นวัตกรรม ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  และแหล่งเรียนรู้

๖.ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ชมชน และท้องถิ่นในการจัดการศึกษา

 

 

๗. โรงเรียนมีการจัดโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา

ใน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้และกิจกรรม พัฒนาผู้เรียนในแต่ละช่วงชั้นอย่างไร โรงเรียนเทพศิรินทร์ลาดหญ้า กาญจนบุรี จัดทำโครงสร้างหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551

๘ โรงเรียนมีการดำเนินงานพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาในโรงเรียนอย่างไร

ให้ยกตัวอย่าง การดำเนินงานในกลุ่มสาระการเรียนรู้ใดกลุ่มสาระการเรียนรู้หนึ่งที่นักศึกษาสนใจ โรงเรียนเทพศิรินทร์ลาดหญ้า กาญจนบุรี ให้ความสำคัญกับการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ครูมีการจัดทำแผนการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ มีการจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมต่างๆ โดยเฉพาะการจัดการเรียนรู้โดยโครงงานบูรณาการให้กับนักเรียนทุกระดับชั้น ที่มุ่งเน้นให้นักเรียนเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ ใฝ่เรียน ใฝ่รู้และสามารถแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง มีการจัดแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน มีการวัดผลประเมินผลตามสภาพจริงและนำผลไปพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ มีการจัดทำวิจัยในชั้นเรียนเพื่อนำผลการวิจัยไปพัฒนาคุณภาพและนำไปแก้ไขในการเรียนการสอนได้อย่างมีระบบ

๙. โรงเรียนมีหลักเกณฑ์และแนวทางในการวัดประเมินผลต่อไปนี้อย่างไร

การประเมินในระดับชั้นเรียน

๑. วางแผนการสอนและการประเมินผล การประเมินผลประกอบด้วยการประเมินผลก่อนเรียน ระหว่างเรียนและปลายภาค

๒. เลือกวิธีการวัดและประเมินผลให้สอดคล้องกับภาระงานหรือกิจกรรม ซึ่งมี วิธีประเมินผลหลายวิธี เช่น

- ประเมินด้วยการตอบคำถาม การสอบปากเปล่า การทำใบงาน และแบบ ฝึกทักษะ

- ประเมินจากการปฏิบัติ เช่น มอบหมายชิ้นงาน

- ประเมินตามสภาพจริง ประเมินจากงานหรือกิจกรรมที่ปฏิบัติจริง

- ประเมินจากแฟ้มสะสมงาน

- ประเมินจากการทดสอบ

๓. กำหนดอัตราส่วนคะแนนการประเมินระหว่างเรียนกับปลายภาค จะขึ้นอยู่กับลักษณะ ของเนื้อหาสาระรายวิชา ซึ่งอาจจะเป็น คะแนนระหว่างภาค : คะแนนปลายภาค = 8 : 2 , 7 : 3 , 6 : ๑๐. จัดทำเอกสารบันทึกข้อมูลของนักเรียน ผู้สอนต้องจัดทำเอกสารบันทึกข้อมูล ผลการวัดและประเมินผล ระหว่างเรียน อย่างเป็นระบบชัดเจน เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลในการพัฒนานักเรียน และเป็นหลักฐานตรวจสอบ แสดงถึง ความโปร่งใส และความยุติธรรมในการประเมิน

๑๐ การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

การให้ระดับผลการตัดสินการเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ให้ผู้รับผิดชอบกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและผู้เกี่ยวข้องรวมกันกำหนด โดยให้ระดับผลการประเมินเป็น "ผ" และ "มผ" ผ หมายถึง ผ่านเกณฑ์การประเมินโดยมีเวลาเข้าร่วมกิจกรรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาทั้งหมดที่จะจัดกิจกรรมของแต่ละภาคเรียน และผ่านจุดประสงค์สำคัญของกิจกรรมตามที่กำหนด มผ หมายถึง ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินโดยมีเวลาเข้าร่วมกิจกรรมไม่ถึงร้อยละ 80 ของเวลาทั้งหมดที่จัดกิจกรรมของแต่ละภาคเรียน และไม่ผ่านจุดประสงค์สำคัญของกิจกรรมตามที่กำหนด

๑๑  การประเมินในระดับช่วงชั้น การประเมินความสามารถอ่าน คิด วิเคราะห์ และเขียน ผ่านช่วงชั้นเป็น การประเมินทักษะการคิดและการถ่ายทอดความคิดด้วยทักษะการอ่าน การคิด วิเคราะห์ ตามเงื่อนไข และวิธีการที่สถานศึกษากำหนดและตัดสินผลการประเมินเป็น 4 ระดับ ดังนี้

ระดับ 4 หมายถึง ความสามารถในการอ่าน คิด วิเคราะห์ และเขียน เมื่อเทียบกับเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนดไว้อยู่ในระดับ ดีเยี่ยม

ระดับ 3 หมายถึง ความสามารถในการอ่าน คิด วิเคราะห์ และเขียน เมื่อเทียบกับเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนดไว้อยู่ในระดับ ดี

ระดับ 2 หมายถึง ความสามารถในการอ่าน คิด วิเคราะห์ และเขียน เมื่อเทียบกับเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนดไว้อยู่ในระดับ พอใช้

ระดับ 1 หมายถึง ความสามารถในการอ่าน คิด วิเคราะห์ และเขียน เมื่อเทียบกับเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนดไว้อยู่ในระดับ ผ่านเกณฑ์การประเมิน

ระดับ 0 หมายถึง ความสามารถในการอ่าน คิด วิเคราะห์ และเขียน เมื่อเทียบกับเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนดไว้อยู่ในระดับ ปรับปรุง

เมื่อจบช่วงชั้น จะพิจารณาจากผลการประเมิน “ผ่าน” และ “ไม่ผ่าน” โดยการประเมิน “ผ่าน” ต้องมีผลการประเมินอยู่ในระดับ “พอใช้” ขึ้นไป การ ตัดสินผลการเรียนผ่านช่วงชั้น เป็นการนำผลการประเมินในด้านต่าง ๆ มาประมวลสรุปเพื่อตัดสินให้ผู้เรียนผ่านช่วงชั้นต่าง ๆ ตามเกณฑ์การตัดสินผลการเรียนแต่ละช่วงชั้น

๑๓ การประเมินเมื่อจบการศึกษาภาคบังคับ

๑. นักเรียนต้องมีผลการประเมินรายวิชาของกลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้ง ๘ กลุ่มสาระ ไม่น้อยกว่า ๘๔.๐ หน่วยกิต

๒. นักเรียนต้องผ่านเกณฑ์การประเมินการอ่าน คิด วิเคราะห์ และเขียนสื่อความ

๓. นักเรียนต้องผ่านเกณฑ์การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์

๔. นักเรียนต้องเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และผ่านเกณฑ์การประเมินกิจกรรมพัฒนานักเรียน

๕. นักเรียนต้องมีระดับผลการเรียนรายวิชาไม่ต่ำกว่า ๑.๐

๖. นักเรียนต้องมีคะแนนเฉลี่ยสะสมของผลการเรียนตลอดช่วงชั้นไม่ต่ำกว่า ๒.๐

๑๔ การประเมินเมื่อจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน

๑. ผ่านเกณฑ์การประเมินสาระการเรียนรู้ครบทั้ง 8 กลุ่ม

๒.ผ่านเกณฑ์การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนครบทุกกิจกรรม

๓.เกณฑ์การผ่านการศึกษาช่วงชั้นที่ 1, 2, 3

๔.ผ่านเกณฑ์การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์

๕.ผ่านเกณฑ์การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนสื่อความ 4.5 การเทียบโอนผลการเรียน

การโอนผลการเรียนของนักเรียนทำได้โดยการนำความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ที่ได้จากการศึกษาในรูปแบบต่างๆ และหรือจากการประกอบอาชีพมาเทียบโอนเป็นผลการเรียนของหลักสูตรใดหลักสูตร หนึ่งในระดับที่กำลังศึกษาอยู่ การพิจารณาการเทียบโอนดำเนินการได้ดังนี้

๑. พิจารณาจากหลักฐานการศึกษา ซึ่งจะให้ข้อมูลที่แสดงความรู้ ความสามารถของ ผู้เรียนในด้านต่างๆ

๒. พิจารณาจากความรู้และประสบการณ์ตรงจากการปฏิบัติจริง การทดสอบการสัมภาษณ์ ฯลฯ

๓. พิจารณาจากความสามารถ และการปฏิบัติได้จริง ทั้งนี้ให้เป็นไปตามกฎกระทรวง และระเบียบที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด

สรุปความคิดเห็น

โรงเรียนได้จัดการเรียนการสอน การแบ่งสัดส่วนเวลาเรียนและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตรงตาม การจัดการหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานปี51 และการวัดผลประเมินผลการเรียนได้จัดตรงตามมารตฐานการเรียนรู้เช่นกัน

สภาพทั่วไปของโรงเรียน

  1. ชื่อโรงเรียน โรงเรียนเทพศิรินทร์ลาดหญ้า กาญจนบุรี

สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8

ที่ตั้ง เลขที่ 279 หมู่ 1 ตำบล ลาดหญ้า อำเภอ เมือง

จังหวัด กาญจนบุรี โทรศัพท์ 034-589242 โทรสาร 034-589447

 

e – mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. website : http://www.dsl.ac.th

 

 

  1. ประวัติความเป็นมาของโรงเรียน (โดยสังเขป)

โรงเรียนเทพศิรินทร์ลาดหญ้า กาญจนบุรี เดิมชื่อโรงเรียนลาดหญ้าพิทยาคม ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2516 จากการริเริ่มของพระเดชพระคุณพระมงคลสิทธิคุณพระมงคลสิทธิคุณ (หลวงพ่อลำใย) ในขณะดำรงสมณศักดิ์พระครูกาญจโนปมคุณ อดีตเจ้าอาวาสวัดทุ่งลาดหญ้า

พลเอกอรุณ ทวาทศิลปฺ ในขณะดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 9 และประชาชนในท้องถิ่น เพื่อให้มีสถานศึกษาในกรดับชั้นมัธยมศึกษาสำหรับบุตรหลานของประชาชนในตำบลลาดหญ้า รวมทั้งบุตรหลายของกำลังพลในกองพลทหารราบที่ 9 ซึ่งได้จัดการศึกษาเรื่อยมา โดยคณะผู้บริหารสถานศึกษาที่ผ่านมาผู้นำชุมชนตลอดจนอดีตผู้บังคับบัญชาของกองพลทหารราบที่ 9 ก็ได้ร่วมกันปรึกษาหารือกันในการที่จะผลักดันพัฒนาโรงเรียนให้มีความเจริญก้าวหน้าอยู่ตลอดเวลา พลเอกสัญชัย รัชตะวรรณ ในขณะดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 9 พระเดชพระคุณพระมงคลสิทธิคุณ (หลวงพ่อลำใย) อดีตเจ้าอาวาสวัดทุ่งลาดหญ้า พันตำรวจตรีไตรรงค์ สุขเจรียงพร อดีตกรรมการสมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนเทพศิรินทร์ ได้ริเริ่มนำโรงเรียนลาดหญ้าพิทยาคมเข้าเป็นโรงเรียนในเครือข่ายเทพศิรินทร์ จนกระทั่งรัฐบาลโดยกระทรวงศึกษาได้จัดให้มีโครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งโรงเรียนในฝันขึ้น ซึ่งในแผนหลักของโครงการ ฯ ได้กำหนดยุทธศาสตร์การสร้างภาคีเครือข่ายที่เข้มแข็ง คณะผู้บริหารโรงเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 9 และผู้บังคับหน่วยในกองพลทหารราบที่ 9 พระครูสิทธิกิจจานุวัตร เจ้าอาวาสวัดทุ่งลาดหญ้าองค์ปัจจุบัน

ผู้ปกครอง นักเรียน คณะครู ตลอดจนศิษย์เก่าได้ดำเนินยุทธศาสตร์สร้างภาคีที่เข้มแข็ง โดยเสนอขอเป็นเครือข่ายโรงเรียนเทพศิรินทร์ ซึ่งองค์การที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียนเทพศิรินทร์ ได้แก่ สมาคมนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ ในพระบรมราชูปภัมภ์ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียน เทพศิรินทร์ สมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนเทพศิรินทร์ได้อนุมัติรับโรงเรียนลาดหญ้าพิทยาคมเป็นโรงเรียนในเครือข่ายเทพศิรินทร์โดยให้ชื่อว่า “โรงเรียนเทพศิรินทร์ลาดหญ้า กาญจนบุรี” และได้นำเสนอผ่านความเห็นชอบ เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2548 กระทรวงศึกษาธิการโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้น คือ นายอดิศัย โพธารามิก ได้ลงนามประกาศชื่อ โรงเรียนเทพศิรินทร์ลาดหญ้า กาญจนบุรี

ในการเป็นโรงเรียนในเครือข่ายเทพศิรินทร์นั้น คณะครูและนักเรียนจะได้รับการพัฒนาในทุก ๆ ด้าน เช่น ด้านวิชาการ ด้านคุณธรรม จริยธรรม ความเป็นผู้นำร่วมกับโรงเรียนในเครืออื่น ๆ ทั้งหมด 10 สถานศึกษา ได้แก่

  1. โรงเรียนเทพศิรินทร์
  2. โรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า
  3. โรงเรียนเทพศิรินทร์ นนทบุรี
  4. โรงเรียนเทพศิรินทร์คลองสิบสาม ปทุมธานี
  5. โรงเรียนเทพศิรินทร์พุแค
  6. โรงเรียนเทพศิรินทร์ลาดหญ้า กาญจนบุรี
  7. โรงเรียนเทพศิรินทร์ ขอนแก่น
  8. โรงเรียนเทพศิรินทร์ เชียงใหม่
  9. โรงเรียนเทพศิรินทร์ สมุทรปราการ
  10. โรงเรียนเทพศิรินทร์ ๙ โครงการหลวงในพระบรมราชูปถัมภ์

สีประจำโรงเรียน เขียว เหลือง

ปรัชญาของโรงเรียน “น สิยา โลกวฑฺ ฒ โน” หมายความว่า “ไม่ควรเป็นคนรกโลก”

 

  1. อาคารสถานที่และบริเวณ

3.1 โรงเรียนมีเนื้อที่ทั้งสิ้น 68 ไร่ 1 งาน 94 ตารางวา

3.2 จำนวนอาคารเรียนทั้งสิ้น 2 หลัง

3.3 อาคารประกอบ ได้แก่

3.3.1 อาคารกึ่งถาวร 2 หลัง

3.3.2 อาคารโรงฝึกงาน 3 หลัง

3.3.3 โรงอาหาร 1 หลัง

3.3.4 หอประชุม 1 หลัง

3.4 สนามกีฬา 1 สนาม

3.5 บริเวณพักผ่อน 1 แห่ง

3.6 จำนวนห้องเรียนทั้งสิ้น 27 ห้อง

3.7 จำนวนห้องส่งเสริมวิชาการ 8 ห้อง คือ

3.7.1 ห้อง ICT จำนวน 1 ห้อง

3.7.2 ห้อง Sound Lab จำนวน 1 ห้อง

3.7.3 ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์(เคมี, ฟิสิกส์, ชีววิทยา) จำนวน 3 ห้อง

3.7.4 ห้องปฏิบัติการคณิตศาสตร์ จำนวน 1 ห้อง

3.7.5 แหล่งการเรียนรู้ในโรงเรียน จำนวน 2 แห่ง

3.8 จำนวนห้องพักครู 7 ห้อง

3.9 จำนวนห้องสำนักงาน 2 ห้อง

ผู้บริหารโรงเรียน

boss

 

การบริหารจัดการโรงเรียน

 

 

แฟ้มสะสมผลงาน

 

 

คลังสื่อการเรียนรู้

 

 

Online

 

 

 

กิจกรรมโรงเรียน

ข่าวสารจาก ศธจ.กาญจนบุรี

จดหมายข่าวโรงเรียน

จดหมายข่าว

 

ค้นหา

เข้าสู่ระบบ

จำนวนผู้เข้าชมเว็บ

เนื้อหาที่เปิดอ่าน
69739

ผู้เข้าชมออนไลน์

มี 55 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์

สื่อการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ข่าวสารการศึกษา

ผลงานโรงเรียน

 

 

 

หน่วยงานการศึกษา

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ข่าวสารจาก สพฐ.

เอกสารจาก สพฐ.

เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง