ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ โรงเรียนได้มีการกำหนดสิ่งต่อไปนี้ไว้อย่างไร
๑. วิสัยทัศน์โรงเรียน
โรงเรียนคุณภาพ สภาพแวดล้อมดี มีจิตอาสา ก้าวหน้าไอซีที
๒. อัตลักษณ์
กิจกรรมเด่น เน้นจิตอาสา
๓. เอกลักษณ์
สุภาพบุรุษ สุภาพสตรี ศักดิ์ศรีลูกแม่รำเพย
๔. มาตรการส่งเสริมของโรงเรียน
๔.๑ การสร้างเสริมคุณธรรมจริยธรรม
๔.๒ การยกระดับคุณภาพการศึกษาสู่มาตรฐาน
๔.๓ การส่งเสริมการส่งเสริมให้มีทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ คิดสร้างสรรค์
๔.๔ การพัฒนาศักยภาพครูนักเรียนบุคลากรทางการศึกษา ด้าน ICT
๕ ปรัชญา
“น สิยา โลกวฑฺ ฒ โน” หมายความว่า “ไม่ควรเป็นคนรกโลก”
๖ พันธกิจ
๑.พัฒนาหลักสูตรและระบบการจัดการเรียนรู้ให้มีคุณภาพ
๒.ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษา สู่มาตรฐานสากล
๓.พัฒนา คุณภาพผู้เรียน ให้เป็นคนดี คนเก่ง มีความสุข มีทักษะในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียง หลีกเลี่ยงสิ่งเสพติด ตามมาตรฐานชาติ และมาตรฐานสากล
๔.พัฒนาระบบบริหารและการจัดการที่ดี รองรับสู่มาตรฐานสากล
๕.พัฒนาการใช้สื่อ นวัตกรรม ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และแหล่งเรียนรู้
๖.ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ชมชน และท้องถิ่นในการจัดการศึกษา
๗. โรงเรียนมีการจัดโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา
ใน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้และกิจกรรม พัฒนาผู้เรียนในแต่ละช่วงชั้นอย่างไร โรงเรียนเทพศิรินทร์ลาดหญ้า กาญจนบุรี จัดทำโครงสร้างหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551
๘ โรงเรียนมีการดำเนินงานพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาในโรงเรียนอย่างไร
ให้ยกตัวอย่าง การดำเนินงานในกลุ่มสาระการเรียนรู้ใดกลุ่มสาระการเรียนรู้หนึ่งที่นักศึกษาสนใจ โรงเรียนเทพศิรินทร์ลาดหญ้า กาญจนบุรี ให้ความสำคัญกับการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ครูมีการจัดทำแผนการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ มีการจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมต่างๆ โดยเฉพาะการจัดการเรียนรู้โดยโครงงานบูรณาการให้กับนักเรียนทุกระดับชั้น ที่มุ่งเน้นให้นักเรียนเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ ใฝ่เรียน ใฝ่รู้และสามารถแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง มีการจัดแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน มีการวัดผลประเมินผลตามสภาพจริงและนำผลไปพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ มีการจัดทำวิจัยในชั้นเรียนเพื่อนำผลการวิจัยไปพัฒนาคุณภาพและนำไปแก้ไขในการเรียนการสอนได้อย่างมีระบบ
๙. โรงเรียนมีหลักเกณฑ์และแนวทางในการวัดประเมินผลต่อไปนี้อย่างไร
การประเมินในระดับชั้นเรียน
๑. วางแผนการสอนและการประเมินผล การประเมินผลประกอบด้วยการประเมินผลก่อนเรียน ระหว่างเรียนและปลายภาค
๒. เลือกวิธีการวัดและประเมินผลให้สอดคล้องกับภาระงานหรือกิจกรรม ซึ่งมี วิธีประเมินผลหลายวิธี เช่น
- ประเมินด้วยการตอบคำถาม การสอบปากเปล่า การทำใบงาน และแบบ ฝึกทักษะ
- ประเมินจากการปฏิบัติ เช่น มอบหมายชิ้นงาน
- ประเมินตามสภาพจริง ประเมินจากงานหรือกิจกรรมที่ปฏิบัติจริง
- ประเมินจากแฟ้มสะสมงาน
- ประเมินจากการทดสอบ
๓. กำหนดอัตราส่วนคะแนนการประเมินระหว่างเรียนกับปลายภาค จะขึ้นอยู่กับลักษณะ ของเนื้อหาสาระรายวิชา ซึ่งอาจจะเป็น คะแนนระหว่างภาค : คะแนนปลายภาค = 8 : 2 , 7 : 3 , 6 : ๑๐. จัดทำเอกสารบันทึกข้อมูลของนักเรียน ผู้สอนต้องจัดทำเอกสารบันทึกข้อมูล ผลการวัดและประเมินผล ระหว่างเรียน อย่างเป็นระบบชัดเจน เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลในการพัฒนานักเรียน และเป็นหลักฐานตรวจสอบ แสดงถึง ความโปร่งใส และความยุติธรรมในการประเมิน
๑๐ การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
การให้ระดับผลการตัดสินการเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ให้ผู้รับผิดชอบกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและผู้เกี่ยวข้องรวมกันกำหนด โดยให้ระดับผลการประเมินเป็น "ผ" และ "มผ" ผ หมายถึง ผ่านเกณฑ์การประเมินโดยมีเวลาเข้าร่วมกิจกรรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาทั้งหมดที่จะจัดกิจกรรมของแต่ละภาคเรียน และผ่านจุดประสงค์สำคัญของกิจกรรมตามที่กำหนด มผ หมายถึง ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินโดยมีเวลาเข้าร่วมกิจกรรมไม่ถึงร้อยละ 80 ของเวลาทั้งหมดที่จัดกิจกรรมของแต่ละภาคเรียน และไม่ผ่านจุดประสงค์สำคัญของกิจกรรมตามที่กำหนด
๑๑ การประเมินในระดับช่วงชั้น การประเมินความสามารถอ่าน คิด วิเคราะห์ และเขียน ผ่านช่วงชั้นเป็น การประเมินทักษะการคิดและการถ่ายทอดความคิดด้วยทักษะการอ่าน การคิด วิเคราะห์ ตามเงื่อนไข และวิธีการที่สถานศึกษากำหนดและตัดสินผลการประเมินเป็น 4 ระดับ ดังนี้
ระดับ 4 หมายถึง ความสามารถในการอ่าน คิด วิเคราะห์ และเขียน เมื่อเทียบกับเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนดไว้อยู่ในระดับ ดีเยี่ยม
ระดับ 3 หมายถึง ความสามารถในการอ่าน คิด วิเคราะห์ และเขียน เมื่อเทียบกับเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนดไว้อยู่ในระดับ ดี
ระดับ 2 หมายถึง ความสามารถในการอ่าน คิด วิเคราะห์ และเขียน เมื่อเทียบกับเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนดไว้อยู่ในระดับ พอใช้
ระดับ 1 หมายถึง ความสามารถในการอ่าน คิด วิเคราะห์ และเขียน เมื่อเทียบกับเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนดไว้อยู่ในระดับ ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ระดับ 0 หมายถึง ความสามารถในการอ่าน คิด วิเคราะห์ และเขียน เมื่อเทียบกับเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนดไว้อยู่ในระดับ ปรับปรุง
เมื่อจบช่วงชั้น จะพิจารณาจากผลการประเมิน “ผ่าน” และ “ไม่ผ่าน” โดยการประเมิน “ผ่าน” ต้องมีผลการประเมินอยู่ในระดับ “พอใช้” ขึ้นไป การ ตัดสินผลการเรียนผ่านช่วงชั้น เป็นการนำผลการประเมินในด้านต่าง ๆ มาประมวลสรุปเพื่อตัดสินให้ผู้เรียนผ่านช่วงชั้นต่าง ๆ ตามเกณฑ์การตัดสินผลการเรียนแต่ละช่วงชั้น
๑๓ การประเมินเมื่อจบการศึกษาภาคบังคับ
๑. นักเรียนต้องมีผลการประเมินรายวิชาของกลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้ง ๘ กลุ่มสาระ ไม่น้อยกว่า ๘๔.๐ หน่วยกิต
๒. นักเรียนต้องผ่านเกณฑ์การประเมินการอ่าน คิด วิเคราะห์ และเขียนสื่อความ
๓. นักเรียนต้องผ่านเกณฑ์การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
๔. นักเรียนต้องเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และผ่านเกณฑ์การประเมินกิจกรรมพัฒนานักเรียน
๕. นักเรียนต้องมีระดับผลการเรียนรายวิชาไม่ต่ำกว่า ๑.๐
๖. นักเรียนต้องมีคะแนนเฉลี่ยสะสมของผลการเรียนตลอดช่วงชั้นไม่ต่ำกว่า ๒.๐
๑๔ การประเมินเมื่อจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน
๑. ผ่านเกณฑ์การประเมินสาระการเรียนรู้ครบทั้ง 8 กลุ่ม
๒.ผ่านเกณฑ์การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนครบทุกกิจกรรม
๓.เกณฑ์การผ่านการศึกษาช่วงชั้นที่ 1, 2, 3
๔.ผ่านเกณฑ์การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
๕.ผ่านเกณฑ์การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนสื่อความ 4.5 การเทียบโอนผลการเรียน
การโอนผลการเรียนของนักเรียนทำได้โดยการนำความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ที่ได้จากการศึกษาในรูปแบบต่างๆ และหรือจากการประกอบอาชีพมาเทียบโอนเป็นผลการเรียนของหลักสูตรใดหลักสูตร หนึ่งในระดับที่กำลังศึกษาอยู่ การพิจารณาการเทียบโอนดำเนินการได้ดังนี้
๑. พิจารณาจากหลักฐานการศึกษา ซึ่งจะให้ข้อมูลที่แสดงความรู้ ความสามารถของ ผู้เรียนในด้านต่างๆ
๒. พิจารณาจากความรู้และประสบการณ์ตรงจากการปฏิบัติจริง การทดสอบการสัมภาษณ์ ฯลฯ
๓. พิจารณาจากความสามารถ และการปฏิบัติได้จริง ทั้งนี้ให้เป็นไปตามกฎกระทรวง และระเบียบที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด
สรุปความคิดเห็น
โรงเรียนได้จัดการเรียนการสอน การแบ่งสัดส่วนเวลาเรียนและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตรงตาม การจัดการหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานปี51 และการวัดผลประเมินผลการเรียนได้จัดตรงตามมารตฐานการเรียนรู้เช่นกัน